Copy-Paste I แบบ-เลียน

นิทรรศการ  “แบบ-เลียน”  12 มีนาคม - 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 ณ. ชั้น 2 สมบัติเพิ่มพูน แกลเลอรี  สมบัติเพิ่มพูนมีความยินดีเสนอ  “แบบ-เลียน” นิทรรศการศิลปะสะท้อนถึงปัญหา ระบบการศึกษาไทย จากศิลปิน 7 ท่านผู้ได้มีโอกาส เป็นทั้ง ผู้เรียน และ ผู้สอน ในประเทศไทย “แบบเลียน”  เป็นชื่อนิทรรศการที่สะท้อนถึงการเรียนการสอน แบบเลียนแบบ  ท่องจำ และ ปฏิบัติตามผู้สอน โดยไม่ถูกกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์นอกกรอบ หรือ นำความรู้ไปประยุกต์ และ เรียนรู้ถึงศักยภาพของตน ศิลปิน 7 ท่านใช้ผลงานศิลปะเป็นตัวกลางในการสะท้อนถึงประสบการณ์ในระบบการศึกษาไทยของตน และ ยังตั้งคำถามถึง ผู้ชมนิทรรศการว่า มีประสบการณ์เดียวกันหรือไม่? ศิลปิน: ชลวิชญ์ โรจน์จตุรกุล, ปวรงค์ บุญช่วย, มลชัย พิทยวราภรณ์, รักกิจ ควรหาเวช , สุจินต์ วัฒนวงศ์ชัย, สืบแสง แสงวชิระภิบาล, สรัณยู คูณธนกุลวงศ์ เบนจามิน แฟรงคลิน กล่าว ว่า “การลงทุนในความรู้ เป็นการลงทุนที่ได้กำไรมากที่สุด” ประเทศไทยก็ได้ลงทุนกับการศึกษาอย่างมหาศาล ใน พ.ศ. 2556 รัฐบาลไทยได้จัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีให้กระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 560,411,648,800 บาท หรือคิดเป็นร้อยละ 19.18 ของงบประมาณประเทศ และ เมื่อ พ.ศ.2577  กระทรวงศึกษาธิการได้รับงบประมาณ 481,337,000 บาท ทั้งนี้ประเทศไทยมีสัดส่วนงบประมาณการศึกษาต่องบประมาณแผ่นดินทั้งหมดมากที่สุดในประเทศกลุ่มอาเซียน  แต่ทำไมผลจากการลงทุนนี้กลับไม่ได้กำไร การศึกษาของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุขในปี พ.ศ. 2554  เปิดเผยว่าเด็กไทยมีระดับเชาว์ปัญญา 98.59 ซึ่งต่ำกว่าค่ามัธยฐานของเชาวน์ปัญญาทั้งโลกที่ระดับ 100 และ รายงานของ Economic Forum ในปี พ.ศ. 2555- พ.ศ. 2556ได้จัดอันดับคุณภาพการศึกษาของประเทศในกลุ่มอาเซียน (ไม่ปรากฏชื่อ พม่า และ ลาว) ประเทศไทยได้คะแนนต่ำที่สุดและถูกจัดอยู่ในลำดับที่ 8. และ International Institute for Management Development หรือ IMD  ก็ได้เผยแผร่ผลการจัดอันดับด้านการศึกษาภาพรวมของไทย ปี พ.ศ. 2004 ไทยอยู่อันดับ 54 จาก ทั้งหมด 60 ประเทศ  จากผลสำรวจเหล่านี้ จึงเห็นได้ว่าคุณภาพการศึกษาไทยอยู่ในขั้นวิกฤติ ส่งผลให้ศิลปิน 7 ท่านตั้งคำถามถึงสาเหตุปัญหาที่แท้จริงในนิทรรศการ “แบบ-เลียน” ด้วยความหวังว่าคำถามเหล่านี้จะนำไปสู่คำตอบในอนาคต.

12th March – 9th May, 2015

Collections in exhibition